1. จุด (Point)
จะเป็นจุดที่ชี้ให้เห็น ตาแหน่งในที่ว่าง หรือที่ต่างๆ ไม่มีความกว้าง ความยาวความลึก จุดให้ความรู้สึกคงที่ไม่มีทิศทาง ไม่ครอบคลุมพื้นที่ จุดจะเกิดอยู่ในบริเวณต่างๆ
2. เส้น (Line)
เส้นเกิดจากการนาจุดหลายๆจุดมาเรียงต่อกันหรือเกิดจากจุดเคลื่อนที่เส้นทางที่จุดเคลื่อนที่ไปคือเส้นมีความยาวไม่มีความกว้างหรือความหนามากการกาหนดทิศทางของเส้นให้อยู่ในแนวที่ต่างกันจะให้ความรู้สึกที่ต่างกันดูมั่นคงบางครั้งดูเคลื่อนไหวและเจริญงอกงามเติบโต
- เส้นตั้ง (Vertical Line)
ให้ความรู้สึกสูงสง่า แข็งแรง มั่นคง ถ้าสูงมาก ๆ ก็จะให้ความ รู้สึกไม่ปลอดภัย แต่จะบอกความเติบโต ถ้านามาประยุกต์ในการแต่งกาย โดยใส่เสื้อ ลายแนวเส้นตั้งฉาก แนวดิ่ง จะช่วยให้ดูสูงขึ้น และถ้าออกแบบให้ดูผอมลง อาจใช้เพียง2-3 เส้น
ให้ความรู้สึกสงบ ราบเรียบ แน่นอน มั่นคง ปลอดภัย ความนิ่ง พักผ่อนเป็นธรรมชาติ
- เส้นเฉียง (Oblique Line)
ให้ความรู้สึกไม่มั่นคงไม่ปลอดภัย ตื่นต้น สนุกสนานแสดงการเคลื่อนที่ ไม่อยู่นิ่ง
- เส้นโค้ง (Curve)
จะให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว นุ่มนวล อ่อนหวาน เชื่องช้า กระชับและเป็นอันหนึ่งอันเดียว
3. ทิศทาง (DIRECTION)
ทิศทางคือลักษณะที่แสดงให้รู้ว่ารูปแบบทั้งหมดมีแนวโน้มไปทางใดทาให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกว่ามีการเคลื่อนไหว(Movement) นาไปสู่จุดสนใจ
4. รูปทรง (FORM)
เกิดจากระนาบที่ปิดล้อมกันทาให้เกิดปริมาตร (Volume) มี 3 มิติคือความกว้างความยาวและความสูงแบ่งออกเป็น2 ชนิดคือรูปทรงเรขาคณิตและรูปทรงธรรมชาติ
- 4.1 รูปทรงเรขาคณิต ( Geometric Form ) เป็นรูปทรงที่มีด้านแต่ละด้านคล้ายกัน มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระเบียบ มีแกนที่สมดุล มักจะประกอบด้วยเส้นตรงและเส้นโค้ง ที่มีแบบแผน
- 4.2 รูปทรงธรรมชาติ ( Original Form) มักจะประกอบด้วยเส้นโค้ง (Curves) เส้นอิสระ ทั้งอยู่ในลักษณะสมดุลและไม่สมดุล รูปทรงธรรมชาติจะให้ความรู้สึกอ่อนไหว
- 4.3 รูปทรงอิสระ (Free Form) รูปด้านแต่ละด้านมักจะไม่สัมพันธ์กัน ไม่มีความสมดุล ไม่เป็นระเบียบ ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวได้
5. ขนาดและสัดส่วน (Size & Scale)
- ขนาด(Size) - ขนาดคือการเปรียบเทียบรูปร่างหรือรูปทรงการวัดสัดส่วนระยะหรือขอบเขต
- ของรูปร่างนั้นๆ
- สัดส่วน(Scale) - สัดส่วนคือความเหมาะสมของสิ่งของตั้งแต่2 สิ่งขึ้นไปมีความสัมพันธ์กัน
- การหาความสัมพันธ์ของขนาดและสัดส่วนในการออกแบบต้องคานึงถึงขนาดและสัดส่วนของผู้ใช้และกิจกรรมภายในเป็นหลัก
การจัดองค์ประกอบ (Composition)
1. ความสมดุล (Balance) คือ ความเท่ากันหรือเท่าเทียมกันทั้งสองข้าง แบ่งออกเป็น
- สมดุลแบบทั้ง2 ข้างเหมือนกัน(Symmetrical balance) ทั้งซ้ายขวาเหมือนกันการสมดุลแบบนี้จะทาให้ดูมั่นคงหนักแน่นยุติธรรมเช่นงานราชการใบวุฒิบัตรประกาศนียบัตรการถ่ายรูปติดบัตรเป็นต้น
- สมดุลแบบ 2 ข้างไม่เหมือนกัน (Asymmetrical balance)ด้านซ้ายและขวาจะไม่เหมือนกัน แต่มองดูแล้วเท่ากันด้วยน้าหนักทางสายตา เช่น สมดุลด้วยน้าหนักและขนาดของรูปทรง ด้วยจุดสนใจ ด้วยจานวนด้วยความแตกต่างของรายละเอียด ด้วยค่าความเข้ม-จางของสี เป็นต้น
หลักและวิธีในการใช้การเน้น -เน้นด้วยการใช้หลักเรื่องContrast
-เน้นด้วยการประดับ
-เน้นด้วยการจัดกลุ่มในส่วนที่ต้องการเน้น
-เน้นด้วยการใช้สี
-เน้นด้วยขนาด
-เน้นด้วยการทาจุดรวมสายตา
ความขัดแย้ง (Contrast)
การจัดองค์ประกอบให้เกิดความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจหรือให้เกิดความสนุกตื่นเต้นน่าสนใจลดความเรียบน่าเบื่อให้ความรู้สึกฝืนใจขัดใจแต่ชวนมอง
ความง่าย (Simplicity)
เป็นการจัดให้ดูโล่งสบายตาไม่ยุ่งยากซับซ้อนมีมโนทัศน์เดียวลดการมีฉากหลังหรือภาพประกอบอื่นๆที่ไม่จาเป็นหรือไม่เกี่ยวข้องออกไปเพราะการมีฉากหลังรกทาให้ภาพหลักไม่เด่นนิยมใช้ในการถ่ายภาพที่ปรับฉากหลังให้เบลอเป็นภาพเกี่ยวกับดอกไม้แมลงสัตว์และบุคคลนางแบบเป็นต้นความลึก (Perspective) ให้ภาพดูสมจริงคือภาพวัตถุใดอยู่ใกล้จะใหญ่ถ้าอยู่ไกลออกไปจะมองเห็นเล็กลงตามลาดับจนสุดสายตาซึ่งมีมุมมองหลักๆอยู่ 3 ลักษณะคือวัตถุอยู่สูงกว่าระดับตาวัตถุอยู่ในระดับสายตาและวัตถุอยู่ต่ากว่าระดับสายตา

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น